February 02, 2013

รู้จักประเภทและความหมายในการลงโฆษณาบน Facebook

 
 

Sent to you by nunok via Google Reader:

 
 

via thumbsup by charathBank on 1/24/13

ที่มาของภาพ: http://blogtipswriter.com

ที่มาของภาพ: http://blogtipswriter.com

สำหรับคนที่ใช้งาน Facebook ก็คงจะชินกับโฆษณาในรูปแบบต่างๆ ที่แสดงอยู่ในหน้าจอ News Feed และด้านข้างของหน้าจอ แต่จริงๆ แล้วนั้นทาง Facebook มีการแยกประเภทของโฆษณาอยู่หลายรูปแบบ วันนี้มีบทความแปล ที่จะอธิบายเกี่ยวกับประเภทและรูปแบบของโฆษณาบน Facebook มาให้ได้อ่านและศึกษากันครับ เผื่อว่าใครที่อาจจะต้องใช้ช่องทางนี้ในการโฆษณาในอนาคตอันใกล้

Sponsored Stories

โฆษณาประเภท Sponsored Stories ถูกดึงมาแสดงให้เห็น โดยใช้การอ้างอิงจากกิจกรรม (activity) ของผู้ใช้งานคนนั้นๆ ที่เกิดขึ้นบน Facebook Timeline ของเขา หรือมีการใช้แอพพลิเคชันอื่นๆ ที่เชื่อมต่อกับ Facebook โดยการกระทำหรือ action นี้จะถูกแสดงขึ้นมาในหน้าของเพื่อนที่เป็น Friends กับคนนั้น หรือไม่ก็ขึ้นอยู่ที่ Sidebar ด้านข้าง หรือปรากฏอยู่ใน News Feed เลย

สำหรับ Sponsored Stories จะไม่ถูกหยิบมาแสดงบนหน้าจอหากว่าเพื่อนที่เราเพิ่มชื่อไว้ไม่ได้กด Like หรือว่าใช้งานแอพพลิเคชันที่ทำการโฆษณานั้นๆ ซึ่งถ้าอธิบายง่ายๆ ก็คือ ถ้าเรามีเพื่อนใน Facebook 1000 คน ทั้งหมดไม่ได้กด Like Page AAA เราก็ไม่มีสิทธิที่จะเห็นการลงโฆษณา Page AAA ได้ แต่ถ้ามีเพียงแค่ 1 คนที่กด Like เราก็มีสิทธิที่จะเห็นได้ครับ

สำหรับผู้ลงโฆษณา ไม่ต้องทำการตั้งค่าใดๆ ตอนลงโฆษณา เพราะโฆษณาประเภท Facebook Stories จะเกิดจากการใช้งานของตัวผู้ใช้เองและเพื่อนของผู้ใช้งานล้วนๆ  หรือเรียกว่า Organic action

โดยรูปแบบที่เราเห็นกันบ่อยที่สุดใน Sponsored Stories ก็คือ Page Like โดยที่ผู้ลงโฆษณาสามารถที่จะกำหนดการกระทำที่ต้องการให้ผู้ที่เจอข้อความนั้นทำได้ อย่างเช่น ให้ Check-in สถานที่นั้นได้โดยตรง หรือให้สิทธิประโยชน์ส่วนลดต่างๆ หรือให้กด Like บนโพสต์ที่เราต้องการได้ หรือถ้าอยากให้มันทำได้มากกว่านั้น ผู้ลงโฆษณาก็สามารถปรับแต่งให้ใช้งานในรูปแบบ Open Graph ได้ หรือสามารถแสดงข้อความการกระทำหรือ Action บน Facebook ได้

นอกจากนั้นหากต้องการที่จะนำเสนอหน้าเว็บไซต์หลักที่เราใช้งานอยู่ให้มาอยู่ในโฆษณาบน Facebook ก็สามารถทำได้ด้วยการใช้ Facebook Stories เช่นกัน โดยตัวอย่างที่เห็นกันบ่อยๆ อย่างเช่นการขายของบน Amazon หรือ Ebay

เป้าหมายหลักของการลงโฆษณาแบบ Sponsored Stories คือต้องการดึงคนจำนวนมากๆ มาชอบหรือคลิกเข้าชมสิ่งที่เพื่อนของคุณชอบหรือทำ ถ้าหาก Page นั้นต้องการการกด Like การโฆษณาของ Sponsored Stories โดยมีลิงค์ให้กด Like Page นั้นๆ ถ้าหากผู้ลงโฆษณาอยากนำเสนอข้อเสนอส่วนลดต่างๆ ก็สามารถเลือกการแสดงผลในรูปแบบที่เรียกว่า Offer Claimed Sponsored Stories ได้เป็นต้น โดย Sponsored Stories เกือบทุกแบบนั้นสามารถสร้างได้ผ่านเครื่องมือที่ Facebook มีให้อยู่แล้ว ส่วนประเภทที่ใช้เป็น Open Graph จะต้องสร้างด้วยการใช้เครื่องมืออื่นๆ ที่สามารถทำงานและเข้าถึงกับ Facebook ได้

โฆษณาแบบ Page Post (Page Post Ads)

สำหรับโฆษณาประเภทนี้มันคือลักษณะเดียวกันกับการเขียนข้อความบนหน้า Facebook Page โดยเอาข้อความนั้นมาใช้ในการโฆษณา โดยจะต้องจ่ายเงินเพื่อทำให้คนที่มากด Like, เพื่อนของคนที่กด Like หรือคนที่ไม่รู้จัก Page เราเลยได้เห็นข้อความที่เราต้องการแสดงให้อยู่ในหน้า News Feed หรือที่ Side Bar ด้านข้างของจอ โดยการสร้างโฆษณานั้นจะคล้ายๆ กับการสร้าง Sponsored Stories คือสามารถใช้เครื่องมือที่ Facebook มีมาให้หรือจะใช้เครื่องมืออื่นๆ แล้วต่อผ่าน API ของ Facebook

สำหรับการลงโฆษณาแบบ Page Post นี้จะสามารถใส่ได้เป็นรูปแบบที่เหมือนกับการเขียนข้อความ ไม่ว่าจะเป็นข้อความธรรมดา, ใส่ URL, ใส่รูป, คลิปวิดิโอ, ข้อเสนอสำหรับผู้ใช้งาน, ใส่อีเวนท์ หรือทำเป็นแบบสอบถามก็สามารถทำได้หมดทุกรูปแบบ โฆษณาในรูปแบบนี้ทุกคนมีสิทธิที่จะเห็นข้อความของเราได้ ซึ่งต่างจากรูปแบบ Sponsored Stories ที่ต้องมีใครคนหนึ่งกด Like หรือใช้แอพพลิเคชันก่อนถึงจะเห็นข้อความ

ข้อความที่เราเห็นทั้งบนหน้าเบราว์เซอร์และบนแอพพลิเคชัน

โฆษณาแบบ Page Post นี้เป็นแนวทางในการที่จะเชื่อมความสัมพันธ์และเป็นการทำ Content Marketing ด้วยการเน้นส่วนของเนื้อหา การใช้งานส่วนใหญ่แล้วจะใช้ในการโปรโมทงานอีเวนท์ต่างๆ หรือบอกข้อเสนอพิเศษให้กับคนทั่วๆ ไปได้รู้ ซึ่งมักจะไม่ใช้ในการดึงคนเข้ามาร่วมเป็นแฟนที่ติดตาม Page สักเท่าไหร่นัก

ตัวอย่างเช่นการโฆษณาแบบ Page Post จะมีตัวเลือกให้เล่นคลิปวิดิโอ หรือกด Like รวมทั้งสามารถแสดงความคิดเห็นและส่งต่อได้ตามต้องการ และยังมีตัวเลือกให้สามารถกด Like Page ได้อีก ซึ่งเมื่อเทียบกันกับ Sponsored Stories แล้วจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะรูปแบบ Page Post สามารถทำได้หลายๆ อย่าง แต่กับ Sponsored Stories นั้นจะบอกให้ทำเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น

สำหแม้เราจะเรียกการโฆษณาประเภทนี้ว่า Page Post แต่ทาง Facebook ไม่ได้ใช้นิยามนี้แล้ว แต่นิยามนี้ยังคงถูกใช้ในการเรียนการสอน รวมทั้งเครื่องมือในการสร้างโฆษณาบน Facebook อยู่เหมือนเดิม สาเหตุที่ทาง Facebook เลิกใช้นิยามนี้ก็เพราะว่าในหน้าการจัดการโฆษณานั้น ทาง Facebook ต้องการที่จะเน้นวัตถุประสงค์ในการสร้าง มากกว่าจะใช้นิยามเฉพาะตัวอย่าง Page Post ซึ่งผู้ที่ลงโฆษณาอาจไม่คุ้นเคยและสับสนได้ ดังนั้นแล้ว แทนที่จะใช้คำว่า "create a Page Post Ad" ซึ่งอ่านแล้วดูงงๆ ก็จะใช้เป็น "Promote page posts." ซึ่งนั่นก็คือการสร้างโฆษณาแบบ Page Post นั่นเอง.

Promoted Post

การโฆษณาประเภทนี้น่าจะเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายที่สุด เพราะเป็นการเลือกเอาข้อความที่เขียนไปแล้วหรือกำลังจะเขียนบนหน้า Facebook Page มาโปรโมท โดยโปรโมทผ่านปุ่ม Promote ที่อยู่ด้านล่างกล่องของข้อความ สามารถเลือกปริมาณการเข้าถึงของข้อความนี้ตามงบประมาณที่เรามี ยิ่งมีงบมาก ข้อความนี้ก็จะขึ้นบนหน้า News Feed มากขึ้นด้วย ด้วยระยะเวลาที่กำหนดตายตัวคือ 3 วันหลังจากการเริ่มส่งข้อความครั้งแรก

promote-button

คนถึงอ่านมาถึงตรงนี้คงสงสัยว่าระหว่าง Promoted Posts และ Page Post Ads ว่ามีความต่างกันอย่างไร เพราะข้อมูลที่จะเอามาโปรโมทนั้นก็ดึงมาจากข้อความในหน้า Facebook Page เหมือนๆ กัน จริงๆ แล้วสิ่งที่มันทำให้ต่างก็คือวิธีการตั้งค่าครับ เพราะอย่างที่บอกไปก่อนหน้าว่า สำหรับ Promoted Post นั้นจะทำผ่านปุ่ม Promote เพียงอย่างเดียวโดยเราแค่เลือกว่าต้องการจะให้คนเห็นกี่คนด้วยงบประมาณที่ต้องการ ส่วน Page Post Ads นั้นจะต้องทำผ่านหน้า Advertise on Facebook ซึ่งภายในนั้นจะมีตัวเลือกที่สามารถปรับแต่งได้มากกว่าและละเอียดกว่า ซึ่งรวมไปถึงการระบุเจาะจงว่าเราต้องการให้ข้อความที่จะโปรโมทไปขึ้นที่หน้า News Feed ด้วยเงื่อนไขอะไรบ้าง เช่นประเทศ, ช่วงอายุ หรือความสนใจต่างๆ เป็นต้น ซึ่ง Promoted Posts ไม่สามารถระบุได้เยอะขนาดนี้

facebook-ads

เป้าหมายของการลงโฆษณา Promoted Posts แบบนี้เพื่อสร้างความเคลื่อนไหวหรือ update ให้กับคนที่เป็นแฟนของ Page อยู่แล้ว รวมทั้งเพื่อนของคนที่กด Like แล้วด้วย จะช่วยในการทำให้เนื้อหาที่อยู่บนหน้า Page นั้นถูกเห็นเป็นอันดับต้นๆ ใน News Feeds ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะไม่ใช้การลงโฆษณาประเภทนี้ในการเพิ่มจำนวน Like และการแสดงผลของ Promoted Posts นั้นจะแสดงอยู่ที่หน้า News Feed เท่านั้น โดยแสดงทั้งบนหน้าเบราว์เซอร์และบนแอพพลิเคชัน ในขณะที่ Sponsored Stories และ Page Post Ads สามารถแสดงผลได้ที่ Sidebar ด้านข้างได้ด้วย

Marketplace Ads

ถ้าจะแปลกันแบบลูกทุ่งๆ หน่อยก็คงต้องเป็น แผงโฆษณา นั่นเอง โดยจะถูกแสดงผลบนหน้าจอเบราว์เซอร์ด้านขวามือ โดยเนื้อหาการโฆษณาจะประกอบไปด้วย ข้อความพาดหัว, เนื้อหา, รูปภาพ ซึ่งกำหนดได้ว่าเมื่อคลิกเข้าไปแล้วจะให้ไปที่หน้า Facebook Page นั้นๆ หรือไปที่หน้าเว็บไซต์ที่กำหนดได้

mkt-ads

สำหรับโฆษณาที่อยู่ใน Marketplace Ads นั้นจะมีอยู่ 2 ประเภทได้แก่ โฆษณาที่ทำผ่าน Facebook Exchange หรือเป็นระบบการลงโฆษณาด้วยการประมูลและแสดงผลแบบ real-time โดยการแสดงผลนั้นจะใช้การดู Cookie ของเบราว์เซอร์ที่ว่าเราเคยดูเว็บใดมาบ้างและดูว่าเรากด Like ที่ Page ประเภทอะไรบ้าง เพื่อที่จะให้โฆษณานั้นแสดงออกมาตรงกับคนที่เห็นมากที่สุดนั้นเอง ซึ่งการแสดงผลแบบนี้จะไม่มีปุ่มใดๆ ให้คลิก

ส่วนอีกประเภทหนึ่งที่ไม่ได้ใช้ Facebook Exchange ก็จะมีที่คลิกในการร่วมทำกิจกรรม (action) อย่างเช่นการกด Like หรือการแสดงตนว่าใช้งานสินค้านี้ด้วยการกด Use Now เป็นต้น และจะมีการแสดงจำนวนของคนกด Like ใน Page นั้นหรือจำนวนคนใช้งานให้เห็นอีกด้วย

—————————————————————————————————–

ทั้งหมดนี้เป็นประเภทของโฆษณาที่มีอยู่บนหน้า Facebook ในปัจจุบัน ซึ่งการมาของ Graph Search นั้นน่าจะทำให้ประเภทของการโฆษณามีมากขึ้นกว่านี้ ด้วยอิทธิพลของ SEO ที่จะเข้ามาสู่ Facebook แบบเต็มๆ

เมื่อถึงเวลานั้น ผมน่าจะมีโอกาสที่จะเขียนเพิ่มเติมกันอีกครั้งกับประเภทของช่องทางการทำเงินใหม่ๆ จากโฆษณาเพื่อเข้ากระเป๋ามาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก และมนุษย์เงินเดือนที่ Facebook Inc.

ที่มา: InsideFacebook


 
 

Things you can do from here:

 
 

No comments: